Friday, 4 April 2025
อรวดี ศิริผดุงธรรม

การลดลงของประชากรไทย : วิกฤตหนักที่กำลังมา

(17 ก.พ. 68) ปีนี้เราจะได้ยินคนพูดกันว่าสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอ่ยุกันมากขึ้น เพราะประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรครั้งใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อ เศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างแรงงาน การลดลงของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรที่เติบโตช้าลง ส่งสัญญาณถึง แรงงานขาดแคลน ค่าใช้จ่ายสวัสดิการเพิ่มขึ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม และข้อมูลจากธนาคารโลกยังมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2573 ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนกว่า 30% ของประชากรทั้งหมดของไทยด้วย

ทางออกที่ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการก็มีได้ทั้งการสนับสนุนการเกิด การขยายอายุการเกษียณ การเพิ่มแรงงานต่างชาติ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเอาชดชเยแรงงานที่ขาดแคลนค่ะ เพราะหากไม่มีมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมและดีพอ ประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีค่ะ

แล้วทำไมเราถึงควรต้องกังวลเรื่องนี้ เราไปดูตัวเลขทางสถิติที่สำคัญกันค่ะ?

วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรักที่กลายเป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ

วันแห่งความรัก หรือ วันวาเลนไทน์ได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเอง และวันแห่งความรักนี้ยังเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่มีการใช้จ่ายสูงสุดของปีในประเทศไทย การบริโภคที่เพิ่มขึ้นในวันนี้ส่งผลโดยตรงต่อภาคธุรกิจหลัก ๆ เช่น ค้าปลีก ร้านดอกไม้ อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม การท่องเที่ยว และความบันเทิง

ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าในปี 2567การใช้จ่ายในวันวาเลนไทน์ของไทยแตะระดับ 2.5 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5.4% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สะท้อนถึง พฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังคงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวก็ตาม และสำหรับปี 2568 ก็มีการคาดการณ์ว่าการใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นไปที่ 2.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.2% จากปีก่อนหน้า

โดยผลกระทบเชิงบวกจากวาเลนไทน์จะสามารถแบ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจแบบไหนบ้าง วันนี้จะพาไปดูกันค่ะ

อาณาจักรธุรกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ : จากเจ้าพ่ออสังหาฯ สู่เวทีการเมือง

หากพูดถึงบุคคลที่ทรงอิทธิพลทั้งในแวดวงธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ สื่อบันเทิง และการเมือง โดนัลด์ ทรัมป์ คือชื่อที่ไม่มีใครไม่รู้จัก จากการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างตึกระฟ้าในนิวยอร์ก สู่การเป็นพิธีกรเรียลลิตี้ชื่อดัง และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 45 และ 47 

อาณาจักรธุรกิจของทรัมป์ไม่ได้มีเพียงแค่ตึกหรูและโรงแรมระดับโลก แต่ยังขยายไปถึงคาสิโน สนามกอล์ฟ โซเชียลมีเดีย และแม้กระทั่งแบรนด์สินค้าต่าง ๆ แม้จะประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่เส้นทางของเขาก็เต็มไปด้วย วิกฤติทางการเงิน การล้มละลาย และคดีความมากมาย และวันนี้เราจะพาไปเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของเขากันค่ะ

เจาะธุรกิจ 10 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกปี 2025

(6 ก.พ. 68) เปิดปี 2025 มาพร้อมกับการแข่งขันด้านความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีระดับโลก ที่ยังคงกอบโกยทรัพย์สินกันแบบไม่มีหยุด ใครที่เคยคิดว่าเศรษฐีเหล่านี้รวยแล้ว แต่ขอบอกเลยว่าปี 2025นี้คนเหล่านี้ยังรวยขึ้นอีก เรามาดูกันว่า 10 คนที่รวยที่สุดในปีนี้ มีใครบ้าง และพวกเขาทำเงินจากธุรกิจอะไรกัน

อันดับ 1. Elon Musk – 437,000 ล้านดอลลาร์
เจ้าพ่อ Tesla และ SpaceX ยังครองบัลลังก์มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก ด้วยการที่ Tesla ยังขายดี SpaceX ก็กำลังบุกอวกาศเต็มตัว และ AI ของเขายังทำเงินได้ต่อเนื่อง มัสก์จึงเป็นคนที่มีทรัพย์สินสูงสุดแบบขาดลอยคู่เเข่งคนอื่น

อันดับ 2. Jeff Bezos – 243,000 ล้านดอลลาร์
แม้จะลาออกจากตำแหน่ง CEO ของ Amazon แต่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและ AWS (Cloud Service) ของเขาก็ยังคงทำเงินไม่หยุด เรียกได้ว่าหายใจทิ้งก็ยังรวยขึ้นในทุกนาที

อันดับ 3. Mark Zuckerberg – 214,000 ล้านดอลลาร์
CEO แห่ง Meta ยังคงทำเงินได้อย่างมหาศาลจาก Facebook, Instagram, WhatsApp และ Metaverse นอกจากนี้ AI และแพลตฟอร์ม VR ของเขายังช่วยผลักดันทรัพย์สินให้พุ่งขึ้นไปอีกด้วย

อันดับ 4. Larry Ellison – 192,000 ล้านดอลลาร์
เจ้าพ่อ Oracle ยังคงเป็นมหาเศรษฐีระดับแนวหน้าของโลก ในยุคที่ Cloud Computing และ AI กำลังมาแรง Oracle ก็ยังเป็นบริษัทที่ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้ขับเคลื่อนแบบไร้ขีดจำกัด

อันดับ 5. Larry Page – 170,000 ล้านดอลลาร์
หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Google ยังคงได้รับผลประโยชน์จากธุรกิจ Search Engine และ AI รวมถึง Cloud Computing ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

อันดับ 6. Bernard Arnault – 169,000 ล้านดอลลาร์
เศรษฐีสายแฟชั่นและเจ้าพ่อแบรนด์หรู LVMH ก็ตามมาในอันดับที่ 6 เพราะแบรนด์ Louis Vuitton, Dior, Givenchy และสินค้าหรูอื่น ๆ ยังคงขายดีไม่มีตก เทรนด์ของใช้แบรนด์เนมยังคงมาแรง คนพร้อมจ่ายเพื่อความหรูหรา ทำให้เขายังเป็นเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของโลกได้

อันดับ 7. Sergey Brin – 160,000 ล้านดอลลาร์
ผู้ร่วมก่อตั้ง Google อีกรายที่ยังคงครองตำแหน่งเศรษฐีระดับโลก ด้วยการเติบโตของ AI, Search Engine และ Cloud Services เขาจึงยังมีทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 8. Bill Gates – 158,000 ล้านดอลลาร์
แม้จะลดบทบาทใน Microsoft แต่ทรัพย์สินของ Bill Gates ก็ยังเพิ่มขึ้นจากการลงทุนใน AI, พลังงานสะอาด และโครงการการกุศล เขายังคงเป็นหนึ่งในคนที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจของโลกด้วย

อันดับ 9. Steve Ballmer – 147,000 ล้านดอลลาร์
อดีต CEO ของ Microsoft ยังคงทำเงินได้อย่างต่อเนื่องจาก หุ้น Microsoft และธุรกิจกีฬา (L.A. Clippers) นอกจากนี้ การเติบโตของ Cloud Services และ AI ยังช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของเขาด้วย

อันดับ 10. Warren Buffett – 142,000 ล้านดอลลาร์
เจ้าพ่อการลงทุนยังคงอยู่ใน Top 10 และแม้จะอายุเกือบ 100 ปี แต่พอร์ตการลงทุนของเขายังคงสร้างผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่องจาก Apple, Coca-Cola, และธุรกิจประกัน

ส่วนการจัดอันดับคนที่รวยสุดในบ้านเราจากการจัดลำดับล่าสุด คงหนีไม่พ้นคุณเฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัว เจ้าของร่วมแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง Red Bull ได้ก้าวขึ้นเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประมาณ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.32 ล้านล้านบาทค่ะ

ระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลก ปี 2023

(5 ก.พ. 68) ระบบสาธารณสุขเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่ออายุขัย คุณภาพชีวิต และผลิตภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในปี 2023 ที่ผ่านมา Legatum Institute จึงได้จัดทำ  Legatum Prosperity Index 2023 ขึ้น โดยประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับให้มีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลกจากทั้งหมด 167 ประเทศ โดยวิเคราะห์ผ่านข้อมูลสุขภาพโดยรวมของประชากรและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เพื่อให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข ค่าใช้จ่าย และประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขอย่างไร

และเป็นที่น่าประทับใจที่ห้าอันดับแรกของการจัดอันดับในปีนี้ถูกครอบครองโดย ประเทศในเอเชีย ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาด้านสาธารณสุขที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยสิงคโปร์ ครองอันดับที่ 1 และขึ้นชื่อในเรื่องระบบสาธารณสุขที่เป็นแบบผสมระหว่างภาครัฐและเอกชน ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงได้ในราคาที่เหมาะสม ตามมาด้วยญี่ปุ่น (อันดับที่ 2) และ เกาหลีใต้ (อันดับที่ 3) เป็นประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ทันสมัยและมีมาตรการดูแลสุขภาพประชากรสูงวัยที่มีประสิทธิภาพ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ในขณะที่เกาหลีใต้มีระบบ National Health Insurance System ที่ครอบคลุมประชาชนทุกคน

ไต้หวันและ จีนก็เป็นอีกสองประเทศที่โดดเด่นที่ตามมาในอันดับที่ 4 และ 5 โดยเฉพาะระบบ single-payer healthcare ของไต้หวันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก ส่วนจีนมีการพัฒนาระบบสาธารณสุขของตนเองอย่างรวดเร็ว โดยขยายเครือข่ายโรงพยาบาลและพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าประเทศในเอเชียจะครองอันดับต้นๆ ของรายการ แต่ ยุโรป ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพ หลายประเทศติดอันดับ Top 20 เช่นกัน นอร์เวย์ (อันดับที่ 7) และไอซ์แลนด์ (อันดับที่ 8) โดดเด่นในเรื่องระบบสาธารณสุขแบบถ้วนหน้า ที่ให้บริการฟรีหรือในราคาต่ำแก่ประชาชน ส่วน สวีเดน (อันดับที่ 9) และสวิตเซอร์แลนด์ (อันดับที่ 10) มีระบบการเงินด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน 

การจัดอันดับนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของนโยบายรัฐบาล การเงินด้านสาธารณสุข และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเน้นความสำคัญของ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ประสิทธิภาพ และนวัตกรรม ในการให้บริการทางสาธารณสุขค่ะ  

โดย Top 20 อันดับของโลกประกอบไปด้วยประเทศเหล่านี้ และอย่างบ้านเราที่ก็ขึ้นชื่อเรื่องเทคโนโลยีทางการแพทย์และยังมีแผนที่จะก้าวไปสู่การเป็น Medical Hub อยู่ในลำดับที่ 31 ค่ะ

มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง Zhejiang University แหล่งกำเนิดอัจฉริยะ AI แห่ง DeepSeek

ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยที่ปั้นบรรดาอัจฉริยะด้านเทคโนโลยีระดับโลก หลายคนอาจจะนึกถึง MIT Stanford หรือ Oxford แต่รู้ไหมว่าในเอเชียก็มีมหาวิทยาลัยที่แข็งแกร่งด้าน AI และเทคโนโลยีไม่แพ้กัน และที่ ๆ เราจะพาไปรู้จักคือ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง Zhejiang University - ZJU หนึ่งในมหาวิทยาลัยระดับ TOP 3 ของจีน และ อันดับ 9 ของเอเชีย ปี 2025 ตามการจัดอันดับของ Times Higher Education และ Top 50 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก (QS World University Rankings)

มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงก่อตั้งเมื่อปี 1897 ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงมีด้วยกัน 7 วิทยาเขต และเปิดสอนในหลากหลายสาขาวิชา มีนักศึกษาต่างชาติกว่า 6,000 คน จาก 140 ประเทศ เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษมากกว่า 50 หลักสูตร และยังมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เช่น Chinese Government Scholarship (CSC) ด้วย

ZJU ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยธรรมดา แต่เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น 'Silicon Valley แห่งประเทศจีน' ที่นี่มีศูนย์วิจัย AI และหุ่นยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน มีหลักสูตรวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ข้อมูลของที่นี่ถือเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนให้เป็น 'Double First-Class Initiative' หรือโครงการมหาวิทยาลัยระดับโลก เป็นสมาชิกของ C9 League (ซึ่งเทียบเท่ากับ Ivy League ของจีน) รวมทั้งยังมีความร่วมมือมากมายที่เกิดขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัยกับบริษัทเทคยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba Huawei Tencent และสตาร์ตอัป AI ชั้นนำเพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลอีกด้วย

ที่สำคัญไปกว่านั้นมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงยังเป็นแหล่งผลิตอัจฉริยะ AI มากมายหลายคนอย่างศิษย์เก่าระดับ Billionaire อย่างติง เหล่ย์ (Ding Lei) ผู้ก่อตั้ง NetEase เฉิน หนิง หยาง (Chen-Ning Yang) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล หลี่ หลันเจี๋ย (Li Lanjuan) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด COVID-19 เฉิน จงเว่ย (Chen Zhongwei)  นักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีและเหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) ผู้ก่อตั้ง DeepSeek AI ที่กำลังมีประเด็นท้าชนร้อนแรงจนกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ OpenAI และ ChatGPT อยู่ในปัจจุบันนี้

เหลียง เหวินเฟิง แห่ง DeepSeek เรียนที่ ZJU เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระดับปริญญาโทในสาขาวิศวกรรมข้อมูลและสื่อสาร หลังจากสำเร็จการศึกษา เหลียงได้เริ่มต้นอาชีพในวงการการเงิน โดยในปี 2016 เขาร่วมก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ประเภท Quantitative Hedge ชื่อ "High-Flyer" ซึ่งใช้ AI และคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์กลยุทธ์การซื้อขาย และใช้อัลกอริทึมเพื่อคาดการณ์แนวโน้มตลาด เพื่อตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ และด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สะสมมาจากการศึกษาและการทำงานในวงการการเงิน ได้นำเหลียงไปสู่การก่อตั้งบริษัท DeepSeek ซึ่งเป็นสตาร์ตอัปด้าน AI ที่พัฒนา AI ที่ทรงพลัง โดยใช้ต้นทุนเพียงแค่ 6 ล้านดอลลาร์ และได้รับการยอมรับในระดับสากลในยุคนี้ค่ะ

ไม่ง้อ TikTok โดนแบน? จีนดัน RedNote แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียขึ้นแท่น

​จากประเด็นการแบน TikTok ในสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจนนำมาถึงการหยุดใช้งานชั่วคราว ผู้ใช้งานจำนวนมากจึงต้องพากันมองหาแอปพลิเคชันทางเลือกใหม่เพื่อมาทดแทน จนทำให้วันที่ 14 มกราคม 2025 RedNote กลายเป็นแอปที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุดบน App Store ของสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก นี่ถือเป็นการข้ามวัฒนธรรมครั้งสำคัญของแพลตฟอร์มที่เคยเป็นแค่ของจีน แต่กำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก

​RedNote (หรือที่รู้จักในชื่อ Xiaohongshu ในประเทศจีน) กำลังกลายเป็นแพลตฟอร์มยอดฮิต และมันไม่ใช่แค่กระแสชั่วคราว แต่มันคือการปฏิวัติวงการ แม้ TikTok จะครองพื้นที่ข่าว แต่ RedNote กลับค่อยๆ สร้างอาณาจักรของตัวเอง โดยผสมผสานเนื้อหาไลฟ์สไตล์ อีคอมเมิร์ซ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบที่สดใหม่และน่าดึงดูด Rednote ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 โดยผู้ร่วมก่อตั้ง Miranda Qu และ Charlwin Mao โดยเริ่มต้นจากแอปเล็กๆ ที่ให้ผู้ใช้งานแชร์คำแนะนำเกี่ยวกับการช็อปปิ้ง แต่ปัจจุบันได้เติบโตเป็นแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีผู้ใช้งานกว่า 300 ล้านคนต่อเดือน ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ RedNote ก็คือส่วนผสมระหว่าง Instagram, Pinterest และ Amazon ที่ทุกโพสต์เหมือนเป็นคำแนะนำพิเศษ และทุกการเลื่อนหน้าจอก็มักจะให้แรงบันดาลใจใหม่ๆ เสมอ Rednote สร้างความแตกต่างด้วยการเชื่อมโยงผู้คนผ่านเนื้อหาที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเคล็ดลับแฟชั่นและความงาม ไดอารี่การเดินทาง หรือรีวิวสูตรอาหาร มันเป็นการเล่าเรื่องราวของผู้ใช้งาน การแบ่งปันความคิดเห็นที่จริงใจเกี่ยวกับสินค้า ประสบการณ์ส่วนตัว ความน่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือการผสมผสานระบบอีคอมเมิร์ซเข้าไปในแอป ผู้ใช้งานไม่เพียงแต่เห็นสินค้าที่ชอบ แต่ยังสามารถซื้อได้ทันทีภายในแอป สร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งที่รวดเร็วและน่าพึงพอใจ

​การเติบโตของ RedNote ไม่ได้สะท้อนแค่ในจำนวนผู้ใช้งาน แต่ยังรวมถึงมูลค่าทางการเงินอีกด้วย ณ เดือนกรกฎาคม 2024 บริษัทมีมูลค่าประมาณ 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่สำคัญในวงการโซเชียลมีเดียและอีคอมเมิร์ซ การประเมินมูลค่านี้ยังสะท้อนถึงความสำเร็จของแพลตฟอร์มในการเปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นรายได้ ดึงดูดการลงทุนมหาศาลจากยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba และ Tencent

​ส่วน RedNote จะล้ม TikTok ได้หรือไม่ยังคงเป็นคำถามอยู่ค่ะ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ มันไม่ใช่แค่แอปธรรมดา แต่มันคือแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงวัฒนธรรม กำหนดรูปแบบโซเชียลคอมเมิร์ซใหม่ และนำเสนอสิ่งที่แตกต่างในตลาดที่แออัด สำหรับอินฟลูเอนเซอร์ แบรนด์ และผู้ใช้งานทั่วไป มันคือสนามเด็กเล่นใหม่ที่น่าตื่นเต้นและควรลองสัมผัสประสบการณ์นี้ค่ะ

งานไหนรอด งานไหนร่วง? เทรนด์ของโลกแห่งการทำงานในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง 2025

(27 ม.ค. 68) โลกแห่งการทำงานกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในยุคที่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และประชากรศาสตร์เข้ามามีบทบาทสำคัญ จากรายงาน The Future of Jobs 2025 โดย World Economic Forum ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปรับตัวของตลาดแรงงานทั่วโลกจากปี 2025 ถึง 2030 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการสร้างงานใหม่ประมาณ 170 ล้านตำแหน่ง และการสูญเสียงาน 92 ล้านตำแหน่ง โดยมี 5 ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงนี้

1.การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี: เทคโนโลยีใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และ ระบบอัตโนมัติ (Automation) กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่การผลิต การเงิน ไปจนถึงการบริการ รายงานระบุว่า AI เพียงอย่างเดียวจะสร้างงานใหม่กว่า 11 ล้านตำแหน่ง ในขณะที่ทำให้งานเดิมหายไปประมาณ 9 ล้านตำแหน่ง ตัวอย่างงานที่กำลังมาแรง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และ Machine Learning, วิศวกรระบบอัตโนมัติ, นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นอกจากนี้ ยังมีความต้องการเพิ่มขึ้นในด้านความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีเชิงจริยธรรม เพื่อจัดการกับผลกระทบทางสังคมและจริยธรรมของ AI

2.การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว: ด้วยเป้าหมายของหลายประเทศในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ พลังงานหมุนเวียน และ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว อาชีพที่มาแรงในกลุ่มนี้ ได้แก่ วิศวกรพลังงานหมุนเวียน, นักออกแบบระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Grid Designer), ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ไฟฟ้าและอัตโนมัติ โดยในรายงานยังชี้ให้เห็นว่า "เศรษฐกิจสีเขียว" จะไม่เพียงสร้างงานใหม่ แต่ยังเพิ่มมูลค่าให้กับ GDP โลกในระยะยาว

3.การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์: ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับ ประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น ในประเทศที่มีรายได้สูง และการขยายตัวของประชากรวัยทำงานในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ปัจจัยนี้ล้วนแต่ส่งผลโดยตรงต่อความต้องการแรงงานในภาคส่วนทั้งด้านการดูแลสุขภาพ ความต้องการพยาบาล ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และแพทย์เฉพาะทางกำลังเพิ่มขึ้น และด้านการศึกษา โดยครูและผู้ฝึกอบรมในประเทศกำลังพัฒนามีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเตรียมแรงงานรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่ตอบโจทย์ตลาด

4.ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ: ปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ และ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการจ้างงาน โดยรายงานระบุว่า ค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบสูงสุดต่อธุรกิจภายในปี 2030 อุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวสูง ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก ที่ต้องรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่ในทางกลับกัน บริษัทที่สามารถปรับตัวและนำกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น เช่น Remote Work และ ระบบแบ่งปันทรัพยากร (Resource Sharing) จะสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนเหล่านี้ได้ดีกว่า

5.การกระจายเศรษฐกิจโลก: ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามการค้าและการเปลี่ยนแปลงของ ห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) กำลังบังคับให้ธุรกิจต้องสร้างความยืดหยุ่นในกระบวนการดำเนินงาน อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ การผลิต เพราะโลกกำลังปรับเปลี่ยนไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำ และโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อให้สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

โดยในรายงานชี้ให้เห็นว่าทักษะแห่งอนาคตที่ตลาดแรงงานต้องการ คือ ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนโปรแกรม จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ ทักษะที่เน้นมนุษย์ (Human-Centric Skills) เช่น การแก้ปัญหา การคิดเชิงสร้างสรรค์ และการบริหารจัดการความสัมพันธ์

10 ปีตลาดหุ้นไทยทำไมยังย่ำอยู่กับที่? แล้วเราอยู่ตรงไหนในอาเซียน?

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2014-2024) ตลาดหุ้นไทย หรือดัชนี SET Index ดูเหมือนจะ 'ย่ำอยู่กับที่' โดยตลาดเคลื่อนไหวในกรอบประมาณ 1,300-1,800 จุด โดยสิ้นปี 2024 ปิดที่ 1,402 จุด ลดลงจาก 1,416 จุดในสิ้นปี 2023 ซึ่งสะท้อนถึงผลตอบแทนที่ค่อนข้างคงที่และไม่มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม หรืออินโดนีเซีย ที่เติบโตอย่างน่าประทับใจ สถานการณ์นี้เริ่มทำให้นักลงทุนและผู้ติดตามตลาดทุนเริ่มตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นไทย?” และ “เรายังมีโอกาสก้าวหน้าในภูมิภาคนี้อีกหรือไม่?”

เมื่อมองย้อนกลับไป ตลาดหุ้นไทยไม่ได้แสดงถึงการเติบโตที่ชัดเจน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (CAGR) แทบจะเท่ากับศูนย์ ในขณะที่ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านในอาเซียนเติบโตในระดับที่น่าประทับใจ อย่างเช่น

ตลาดใหม่, การเติบโตของธนาคารและอสังหาฯ
(ไม่นับรวมลาวที่ตลาดเคลื่อนไหวช้า เมียนมาที่มีปัญหาการเมืองทำให้ตลาดไม่เติบโต และบรูไนที่ไม่มีตลาดหุ้น)​​

เหตุผลที่ตลาดหุ้นไทยไม่โต มาจาก
​1.​โครงสร้างตลาดที่กระจุกตัว โดยหุ้นในดัชนี SET50 มีสัดส่วนกว่า 70% ของมูลค่าตลาดรวม โดยพึ่งพากลุ่มพลังงาน ธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเติบโตช้าและอิ่มตัว
​2.​เศรษฐกิจที่โตต่ำ GDP ไทยเติบโตเฉลี่ยเพียง 2-3% ต่อปี ขณะที่เวียดนามโต 6-7% และไทยเองก็มีหนี้ครัวเรือนสูงเกิน 90% ของ GDP ส่งผลต่อการบริโภคภายในประเทศ
​3.​ความไม่แน่นอนทางการเมือง จากประเด็นความเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลและนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่น
​4.​ขาดหุ้นในอุตสาหกรรมใหม่ เพราะไทยเองยังขาดหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีหรือธุรกิจนวัตกรรมที่สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนระยะยาว

และบทเรียนจากตลาดหุ้นเพื่อนบ้านที่เราควรนำเอามาศึกษา คือ 
​1.​เวียดนาม: นับเป็นตลาด The Rising Star เพราะมีการสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) และการเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกช่วยดันตลาดหุ้นเวียดนามให้เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียน
​2.​อินโดนีเซีย: มีประชากรคือพลัง จากฐานประชากรกว่า 270 ล้านคนช่วยผลักดันการบริโภคในประเทศและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
​3.​สิงคโปร์: เสถียรภาพคือจุดเด่น เป็นประเทศตลาดหุ้นเน้นหุ้นที่มีเสถียรภาพ เช่น ธนาคารและ REITs ซึ่งดึงดูดนักลงทุนที่มองหาความมั่นคง

ตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาจดูเหมือน 'นิ่ง' แต่ก็มีทั้งความท้าทายและโอกาสที่รอการปลดล็อก หากสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการเพิ่มความหลากหลายของหุ้นในตลาด สนับสนุนธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี พลังงานสะอาด และธุรกิจสุขภาพ การดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ การลดข้อจำกัดด้านภาษีและนโยบาย พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางการเมือง การสร้างนโยบายระยะยาวที่ต่อเนื่อง การเร่งดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และผลักดันธุรกิจในประเทศ ก็อาจจะทำให้เราอาจเห็นตลาดหุ้นไทยกลับมาโดดเด่นอีกครั้งในเวทีอาเซียน คำถามสำคัญคือ เราพร้อมจะเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาให้ตลาดหุ้นไทยของเราก้าวหน้าต่อไปหรือยังคะ

รู้จัก ‘Global Minimum Tax’ แบบง่ายๆ

(9 ม.ค. 68) สำหรับใครที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจการลงทุนในช่วงนี้ ก็คงจะเห็นข่าวเกี่ยวกับการเก็บภาษี Global Minimum Tax ที่เพิ่งประกาศใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมากันเต็มไปหมด ซึ่งหลังการประกาศใช้ก็ทำให้มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นหลายบริษัทที่ได้รับผลกระทบ แล้วใครคือคนที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ในเรื่องนี้ และ Global Minimum Tax คืออะไร เราไปรู้จักกันค่ะ 

Global Minimum Tax (ภาษีขั้นต่ำทั่วโลก) คือกฎที่กำหนดให้ บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ต้องจ่ายภาษีในอัตราขั้นต่ำ 15% ของกำไร ไม่ว่าจะไปตั้งอยู่ที่ประเทศไหนก็ตาม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทุกบริษัทจ่ายภาษีอย่างยุติธรรม และลดปัญหาการย้ายกำไรไปยังประเทศที่เก็บภาษีต่ำ (Tax Havens) เพื่อหลบเลี่ยงภาษี

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาแต่ละประเทศทั่วโลกก็อยากดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในประเทศ มาตรการที่นิยมใช้ คือการให้สิทธิทาง ‘ภาษี’ ที่ดีที่สุด ยิ่งประเทศไหนได้ลดกระหน่ำภาษีได้มากสุดบริษัทต่างชาติก็จะพิจารณาลงทุนในประเทศนั้นๆ เพราะบริษัทข้ามชาติส่วนใหญ่ ต่างมีการวางแผน และใช้สารพัดวิธีในการลดภาระภาษีของตนเอง ให้ได้มากที่สุด เพราะเมื่อมีภาระทางภาษีที่ลดลง ก็สามารถตั้งราคาสินค้าและบริการ ที่ต่ำกว่าได้ บริษัทเล็กๆก็แข่งขันยาก เพราะต้นทุนสู้ไม่ได้

ไทยเราก่อนจะประกาศใช้กฏหมายนี้ ก็มีการจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อัตรา 20% อยู่แล้ว และยังมีการสนับสนุนในส่วนนี้เพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทำให้หลายบริษัทได้รับการลดหย่อนมากขึ้นและจ่ายจริงๆ ไม่ถึง 15% 

ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของ Global Minimum Tax (ภาษีขั้นต่ำทั่วโลก)
 1. ป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี: ลดการย้ายกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ (Tax Havens)
 2. สร้างความเป็นธรรมทางภาษี: ให้ทุกบริษัทจ่ายภาษีในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
 3. เพิ่มรายได้ให้รัฐบาลทั่วโลก: สร้างรายได้จากภาษีที่สูญเสียไปจากการหลีกเลี่ยงภาษี
แล้วคนที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ก็คงหนีไม่พ้น
 • บริษัทข้ามชาติที่มีรายได้เกิน 750 ล้านยูโรต่อปี
 • ประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ (Tax Havens)

ส่วนประโยชน์ของ Global Minimum Tax ก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
✅ ลดการแข่งขันทางภาษีระหว่างประเทศ
✅ เพิ่มความโปร่งใสในการเสียภาษี
✅ รัฐบาลมีรายได้มากขึ้นเพื่อนำไปใช้ในโครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิการสังคม

และในด้านความท้าทายและอุปสรรคที่จะพบก็จะประกอบไปด้วย 
❌ ความซับซ้อนในการบังคับใช้
❌ การต่อต้านจากบางประเทศที่ใช้ภาษีต่ำดึงดูดการลงทุน
❌ ความเสี่ยงในการเพิ่มภาระให้กับบริษัท

โดยสรุปก็คือ Global Minimum Tax เป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมทางภาษีระดับโลก โดยมุ่งหวังลดการหลีกเลี่ยงภาษี และเพิ่มรายได้ให้กับประเทศต่าง ๆ แม้จะยังมีความท้าทายในการบังคับใช้อยู่ค่ะ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top